เป้าหมายหลัก (Understanding Goal) :

Main

วันที่ 22 เมษายน 2560 (วันเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้)

ทำอะไรบ้าง ?
          - เข้าร่วมกิจกรรมจิตศึกษา โดยให้ฟังเพลงแล้วเลือกคำจากเนื้อเพลงที่เราชอบมา 3 คำเขียนใส่ลงไปในกระดาษ พร้อมกับวาดภาพอธิบายคำ 3 คำที่เลือกมานี้
          - ทำความรู้จักกับเพื่อนต่างสถาบัน
          - เรียนรู้กิจกรรม Active learning เปลี่ยนเศษกระดาษที่อยู่ตรงหน้าให้เป็นตะกร้าที่แข็งแรงและสามารถใช้งานได้จริง
          - เข้าร่วมกิจกรรม Body Scan แบบนอน จากนั้นทำ Brain Gym เพื่อให้รู้ตัว พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อในช่วงบ่าย
          - เริ่มการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำแผน PBL และลงมือปฏิบัติทำจริง
          - ทำ Mind mapping แนะนำตัวเอง
ได้เรียนรู้อะไร ?
          - การทำกิจกรรมจิตศึกษา
          - ความนอบน้อมต่อผู้อื่นด้วยการไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
          - การทำแผนการเรียนรู้ PBL
          - การนิ่งสงบของจิตใจ
          - ความกล้าเผชิญกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้า
ความรู้ใหม่คืออะไร ?
          - เข้าใจวิถีการเรียนรู้ของโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
          - เราไม่ควรปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็กด้วยคำว่า ไม่ , ไม่ได้ , ห้าม , อย่า
          - เด็กทุกคนมีความต่างที่ควรได้รับความเสมอภาคเท่ากัน
คำถามที่อยากรู้ ?
          - ทำไมเด็กที่นี่ฉลาด
          - จะสอนอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้แบบนี้
          - ทำไมเด็กเรียนรู้แบบนี้แล้วถึงทำข้อสอบกลางได้
          - ทำไมทางเดินมาห้องประชุมถึงต้องมีตอไม้เป็นสิ่งกีดขวาง
          - ครูพูดด้วยเสียงเบา จะทำให้เด็กๆเบื่อบ้างหรือเปล่า
          - ในแต่ละ Quarter รู้ได้อย่างไรว่าจะต้องสอนเรื่องนี้


กิจกรรมจิตศึกษา



Active learning




วันที่ 23 เมษายน 2560

ทำอะไรบ้าง ?
          - เข้าร่วมกิจกรรมจิตศึกษา โดยการทำโยคะ ตั้งแต่ท่าโยคะยืน นั่ง และก็นอน
          - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความภาคภูมิใจ , ประสบการณ์ในวัยเด็ก , ชีวิตในการทำงานกับเพื่อนในกลุ่ม
          - ออกแบบกิจกรรมจิตศึกษาคนละ 2 กิจกรรม
          - เข้าร่วมกิจกรรม Body Scan แบบนอนจากนั้นทำ Brain Gym เพื่อให้รู้ตัว พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อในช่วงบ่าย
- เขียนแผน PBL ต่อจากเมื่อวาน เป็นการวิเคราะห์หลักสูตร และเขียนปฏิทินรายสัปดาห์ในแต่ละ Quarter นั้น
ได้เรียนรู้อะไร ?
          - เรียนรู้การเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
          - การแสดงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการสร้างคุณค่าและทำลายคุณค่า
          - การเขียนกิจกรรมจิตศึกษาด้วยตนเอง
          - การเขียนแผน PBL ในส่วนของปฏิทินการเรียนรู้
          - ได้ทำความรู้จักกับคณะครูที่เข้าร่วมอบรม จากการร่วมกิจกรรม
ความรู้ใหม่คืออะไร ?
          - เครื่องมือการคิดที่หลากหลายรูปแบบ
          - จิตใจของคนเป็นสิ่งสำคัญ
คำถามที่สงสัย ?
          - ทำไมกระเป๋าผ้าถูกจัง
          - ทำไมห้องเรียนต้องเป็นหกเหลี่ยม
          - ทำไมต้องมีเบาะรองนั่ง ถ้าไม่มีได้หรือไม่
          - ทำไมอาหารและของเบรคอร่อยจัง


เครื่องมือคิด (Tools)



เขียนแผน PBL



แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาปัญญาภายในโดย จิตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
ขั้นเตรียม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว
กิจกรรม สอยดาว
ขั้นเตรียม 5 นาที
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
- ครูและนักเรียนไหว้ทักทายกันอย่างนอบน้อม
- กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย Brian Gym 3 ท่า (จีบ-แอล , กำ-แบ , นับตัวเลข 1-10 พร้อมท่าประกอบ)
- ครูพานักเรียนกลับมารับรู้ที่ลมหายใจของตนเอง 3 ลมหายใจ
- ดอกดาวเรือง
- เข็ม
- ด้าย
- ตะกร้า
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว การมีสมาธิจดจ่อ
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและผู้อื่น
ขั้นกิจกรรม 15 นาที
- ครูแนะนำอุปกรณ์ (ตะกร้า ดอกดาวเรือง)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรที่อยู่ข้างหน้าครู และสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ที่เตรียมดอกดาวเรืองไว้ให้กับนักเรียนที่นั่งติดกับครู พร้อมบอกเงื่อนไขว่า โดยดอกดาวเรืองนี้ ทุกคนจะหยิบกับคนละกี่ดอกก็ได้ แต่เพื่อนในห้องเรียนต้องได้รับดอกดาวเรืองครบทุกคน ขณะรับส่งนักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูให้นักเรียนจับกลุ่มกับเพื่อน กลุ่มละ 4 คน แล้วมารับเข็มกับด้ายจากครูเพื่อนำมาร้อยเป็นพวงมาลัย โดยรวมดอกดาวเรืองของเพื่อนในกลุ่มตัวเอง
- ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงาน โดยใช้คำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนได้ดอกดาวเรืองจำนวนเท่าไหร่ จะมอบให้ใครเพราะเหตุใด
- ครูเชิญ Monitor ในวันนั้นช่วยเก็บอุปกรณ์และผลงานใส่ตะกร้า นักเรียนรับไหว้เพื่อนขอบคุณอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ
- เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูพูดสะท้อนผลถึงกิจกรรมนี้
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม



แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาปัญญาภายในโดย จิตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
ขั้นเตรียม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว
- มีสมาธิ จดจ่อ
กิจกรรม แต่งนิทานจากคำ
ขั้นเตรียม 5 นาที
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
- ครูและนักเรียนไหว้ทักทายกันอย่างนอบน้อม
- กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย Brian Gym 2 ท่า (โป้ง-ก้อย , นับตัวเลข 1-10 พร้อมท่าประกอบ)
- ครูพานักเรียนกลับมารับรู้ที่ลมหายใจของตนเอง 3 ลมหายใจ
- ปากกา
- กระดาษ
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว การมีสมาธิจดจ่อ
- คิดสร้างสรรค์ สัมพันธ์เชื่อมโยง
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและผู้อื่น
ขั้นกิจกรรม 15 นาที
- ครูแนะนำอุปกรณ์ (กระดาษ ปากกา)
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ให้นักเรียนที่นั่งติดกับครู หยิบกระดาษคนละ 1 แผ่น พร้อมปากกาคนละ 1 ด้าม
- ให้นักเรียนเขียนคำที่ตนเองชอบมาคนละ 1 คำ ลงบนกระดาษ
- ครูถามนักเรียนว่าเพราะอะไรถึงเลือกคำนี้
- ครูให้นักเรียนช่วยกันแต่งนิทานจากคำของตนเองที่เขียนลงบนกระดาษ โดยเริ่มจากคนที่นั่งติดกับครูจนไปถึงคนสุดท้าย
- ครูเชิญ Monitor ในวันนั้นช่วยเก็บอุปกรณ์และผลงานใส่ตะกร้า นักเรียนรับไหว้เพื่อนขอบคุณอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ
- เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม






























วันที่ 24 เมษายน 2560
ทำอะไรบ้าง ?
          - เข้าร่วมกิจกรรมจิตศึกษา โดยการแต่งนิทานจากบัตรคำที่ได้คนละ 1 ใบ ให้คนที่อยู่ในวงกลมช่วยกันแต่งนิทานจากคำที่ตนเองได้รวมกันเป็นเรื่องเดียว
          - ฝึกเขียนกิจกรรม Body Scan และทดลองใช้กิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่ม
          - เรียนรู้ Mindset ทางการศึกษา
          - เรียนรู้กิจกรรม PLC พูดแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม
          - ส่ง Mind map แนะนำตัวเองลงใน Blog
          - เขียน Timeline ของตัวเอง
ได้เรียนรู้อะไร ?
          - การเขียน Body Scan
          - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธีการ PLC
          - การทำงานร่วมกับผู้อื่น
          - การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
          - การเสริมพลังด้านบวก ลดพลังด้านลบ เพื่อให้การทำงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
          - การเขียน Timeline เพราะไม่เคยทำมาก่อน
ความรู้ใหม่คืออะไร ?
          - การเขียนแผน Body Scan เพราะไม่เคยเขียนมาก่อน ให้ความรู้สึกสนุก มีความสุขได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่
          - การปรับโครงสร้างพฤติกรรม เพื่อให้แบบแผนและการแสดงออกของพฤติกรรมเปลี่ยนไป
          - การอัพเดตงานใหม่แต่ละวันลงบน Blog ของตัวเอง ให้ความรู้สึกที่แปลกใหม่
คำถามที่สงสัย ?
          - การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ มีผลให้ครูที่นี่หน้าเด็กขึ้นหรือไม่
          - เส้นเชือกที่ตรีงไว้อยู่บนกลางห้อง เอาไว้ทำอะไร
          - ทำไมบางห้องเรียนมีโต๊ะเก้าอี้ แล้วบางห้องทำไมไม่มี
          - ผลงานที่จัดแสดงอยู่หน้าห้องเป็นผลงานของเด็กนักเรียนที่ทำได้ดีที่สุดหรือไม่
          - ทำไมโรงเรียนมีต้นไม้เยอะแต่ว่ายังร้อนอยู่
          - ทำไมที่นั่งบริเวณกลางโรงอาหารถึงมีแมลงวัน แต่ที่นั่งที่อยู่ถัดมาด้านนอกไม่มีแมลงวัน

แต่งนิทานจากบัตรคำ



เขียนแผน Body Scan



ทดลองใช้กิจกรรม Body Scan ที่เขียนเอง




Timeline



กิจกรรม Body Scan
Body Scan แบบนอน
ขั้นเตรียม
          ให้ทุกคนนอนหงายในท่าเตรียม ขาทั้งสองข้างเหยียดตรง แขนวางแนบลำตัวให้ฝ่ามือทั้งสองข้างหงายขึ้น ให้กลับมาอยู่กับความคิดของตัวเอง ปล่อยวางความคิด ความรู้สึก แล้วค่อยๆปิดเปลือกตาลงช้าๆ รับรู้ลมหายใจของตนเอง หายใจเข้าออกสัก 5 ลมหายใจ สังเกตลมหายใจข้างที่ชัดเจนกว่าอีกรอบหนึ่ง
ขั้นผ่อนคลาย
ให้ทุกคนจินตนาการว่ามีลูกโป่งอยู่ที่ท้องของเรา หายใจเข้าลูกโป่งที่ท้องของเราพองออก หายใจออกลูกโป่งที่ท้องของเราแฟบลง เราตามดูการพองและแฟบของลูกโป่งที่อยู่ตรงท้องเราสักระยะ เมื่อเรารู้สึกผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกาย ร่างกายของเราผ่อนคลาย จินตนาการว่าเราอยู่บนชายทะเล ที่มีหาดทรายสีขาวนวล น้ำทะเลสีฟ้าครามเปร่งประกายระยิบระยับ แสงแดดอุ่นๆของพระอาทิตย์ไม่ร้อนมากนักบวกกับลมทะเลที่พัดเข้าชายฝั่งกระทบกับร่างกายของเราทุกส่วน ทำให้เรารู้สึกเย็นสบาย สดชื่น นิ่ง และสงบ ทั้งเกาะไม่มีใครอยู่เลย เพราะที่นี่เป็นเกาะของเรา น้ำทะเลสีที่เกาะของเราใสจนสามารถมองได้ปลาน้อยใหญ่ว่ายวนไปมาใกล้ๆชายหาด เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้วเราจึงอดใจไม่ไหวที่จะลงไปเล่นน้ำกับเจ้าปลา เมื่อขาก้าวแรกที่ได้สัมผัสน้ำให้ความรู้สึกเย็นสบาย สักพักมีปลาตัวน้อย 2 ตัวว่ายวนมาหาเราด้วยความตื่นเต้นและดีใจ เราจึงเอือมมือไปจับเจ้าปลาตัวน้อยขึ้นมา แต่แล้วเจ้าปลาตัวน้อยทั้งสองตัวก็ได้ว่ายหลบหนีไป เดินขึ้นมาบนชายฝั่งแล้วนั่งก่อกองทรายเล่นบริเวณนั้น ก้นของเราที่สัมผัสกับชายหาดยังให้ความรู้สึกที่นุ่มอยู่เช่นเคย เราก่อกองทรายเป็นรูปปราสาทที่มีเจ้าหญิงรอคอยเจ้าชายอยู่บนปราสาทนั้น เรานั่งชื่นชมปราสาทของเราอยู่สักพักก็มีแม่ปูเสฉวนเดินขึ้นมาจากทะเล มุ่งหน้ามาที่หน้าปราสาทของเรา และขุดรูเพื่ออยู่อาศัยที่หน้าปราสาทของเราเพราะมันรับรู้ได้ถึงความปลอดภัยนั่นเอง อยู่กลางทะเลนานแล้วเราเดินไปพักที่ใต้ต้นมะพร้าวกันบ้าง คอแห้งจังเลยและทันใดนั้นเราเหลือบไปเห็นลูกมะพร้าวที่ตกลงมาจากต้น ยังสดใหม่อยู่เลย จึงเอามีดมาฝ่ามะพร้าวกินน้ำที่อยู่ข้างในนั้น ว้าวรู้สึกชุ่มชื่นดีจังเลย เมื่อพระอาทิตย์ใกล้คล้อยจะตกดิน เราเห็นหมู่นกที่บินมาเป็นฝูงบินกลับเข้ารังกัน เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าถึงเวลาทานอาหารเย็นพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่แล้ว
ขั้นปลุก
          ให้ทุกคนกลับมารับรู้ที่ลมหายใจของตัวเอง หายใจเข้า-ออก รับรู้สัมผัสที่ปลายจมูก จดจ่อกับการรับรู้ขณะหายใจ รับรู้ความรู้สึกที่ปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้างขยับเท้าทั้งสองข้างเล็กน้อย แล้วรับรู้ความรู้สึกที่ปลายนิ้วทั้งสองข้างกำและแบมือออกทั้งสองข้างช้าๆ จากนั้นค่อยๆเปิดเปลือกตาขึ้นช้าๆกระพริบตาถี่ๆเพื่อให้ดวงตาของเราได้ปรับแสงที่ผ่านเข้ามา จากนั้นให้พลิกตัวไปทางด้านขวามือพร้อมกับเหยียดแขนออกไปข้างหน้า แล้วค่อยๆดันตัวเองลุกขึ้นมา คนไหนลุกขึ้นมานั่งแล้วให้สะกิดคนที่อยู่ด้านข้างให้รู้สึกตัวและลุกนั่งเป็นวงกลม จากนั้นหันตัวไปทางขวามือ แล้วบีบนวดให้คนที่อยู่ด้านหน้าของตนเอง และกลับหันหลังนวดให้คนที่อยู่ด้านหน้าเราอีกครั้ง


วันที่ 25 เมษายน 2560

สิ่งที่ได้ทำ
          - เข้าร่วมกิจกรรมจิตศึกษา ให้ทายของที่อยู่ภายในกล่องว่าคืออะไร จากการตั้งคำถามของแต่ละคน และเล่าถึงประสบการณ์ความกลัวในช่วงอายุ 7 ปี 14 ปี 21 ปี เพิ่มขึ้นทีละ 7 ปีว่ามีเหตุการณ์ในช่วงอายุใดที่เรามีความกลัวมากที่สุดแล้วความกลัวนั้นยังคงทำให้นึกได้จนมาถึงปัจจุบัน
          - เขียนกิจกรรมจิตศึกษาเพิ่มอีก 3 กิจกรรม
          - อัพข้อมูลบันทึกการเรียนรู้ กิจกรรมจิตศึกษา กิจกรรม Body Scan และจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL ลงใน Blogของตัวเอง
สิ่งที่เป็นความรู้ใหม่
          - ครูรู้จักเด็กผ่านกระบวนการจิตศึกษา
          - การเขียนแผนจิตศึกษาด้วยกิจกรรมโยคะ
สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ
          - รอยยิ้มและการเสริมพลังด้านบวก
          - การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของเพื่อนในกลุ่ม


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาปัญญาภายในโดย จิตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
ขั้นเตรียม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว
- มีสมาธิ จดจ่อ
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและผู้อื่น
กิจกรรม ศิลปะจากใบไม้
ขั้นเตรียม 5 นาที
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
- ครูและนักเรียนไหว้ทักทายกันอย่างนอบน้อม
- กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย Brian Gym 3 ท่า (เอามือแตะหัว แตะไหล่ แตะอก แตะเข่า โดยครูเป็นผู้เริ่มนับเลขแล้วให้นักเรียนนับเลขที่อยู่ถัดไปพร้อมทำท่าประกอบตามครู , นับเลขมือเดียวเริ่มจาก 1-10 , โป้ง-ก้อย)
- ครูพานักเรียนกลับมารับรู้ที่ลมหายใจของตนเอง 3-5 ลมหายใจ
- กระดาษ
- ใบไม้แห้ง
- กาว
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว การมีสมาธิจดจ่อ
- ความคิดสร้างสรรค์
- การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและผู้อื่น
ขั้นกิจกรรม 15 นาที
- ครูแนะนำอุปกรณ์ (ใบไม้แห้ง กระดาษ)
- ครูส่งมอบตะกร้าอุปกรณ์ให้กับนักเรียนที่นั่งติดกับคุณครูและส่งต่อให้เพื่อนที่อยู่ในวงกลม พร้อมไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูกระตุ้นความคิดว่า นักเรียนจะทำอย่างไร ให้ใบไม้แห้งใบนี้สร้างงานศิลปะที่สวยงามได้
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอผลงานของตนเองว่ารูปที่ตนเองวาดเป็นภาพอะไร และเพราะอะไรถึงเลือกภาพนี้
- ครูเชิญ Monitor ในวันนั้นช่วยเก็บอุปกรณ์และผลงานใส่ตะกร้า นักเรียนรับไหว้เพื่อนขอบคุณอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ
- เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม





แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาปัญญาภายในโดย จิตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
ขั้นเตรียม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว การมีสมาธิจดจ่อ
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและผู้อื่น
กิจกรรม แต่งนิทานจากคำ
ขั้นเตรียม 5 นาที
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
- ครูและนักเรียนไหว้ทักทายกันอย่างนอบน้อม
- นักเรียนจับมือเพื่อนที่อยู่ข้างๆแล้วปิดเปลือกตาลงช้าๆ
รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก
- กระตุ้นการเรียนรู้ด้วย Brain Gym จับหูจับจมูกสลับซ้ายขวา 10 ครั้ง
- ปากกา
- กระดาษ
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว การมีสมาธิจดจ่อ
- ความคิดสร้างสรรค์
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและผู้อื่น
ขั้นกิจกรรม 15 นาที
- ครูแนะนำอุปกรณ์ที่อยู่ตะกร้า (กระดาษ ปากกา)
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ให้นักเรียนคนที่นั่งติดกับครู ให้นักเรียนแต่ละคนหยิบกระดาษคนละ 1 แผ่น ปากกาคนละ 1 ด้าม พร้อมไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูกระตุ้นความคิด ให้นักเรียนวาดภาพอะไรก็ได้ แต่ต้องมีรูปวงกลมใหญ่อยู่กลางหน้ากระดาษ
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอผลงานที่ตนเองวาด ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดนักเรียนนำเสนอว่าวาดภาพอะไร ทำไมถึงวาดภาพนี้
- ครูเชิญ Monitor ในวันนั้นช่วยเก็บอุปกรณ์และผลงานใส่ตะกร้า นักเรียนรับไหว้เพื่อนขอบคุณอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ
- เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาปัญญาภายในโดย จิตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
ขั้นเตรียม
- ฝึกการมีสติรู้ตัว
กิจกรรม โยคะคู่
ขั้นเตรียม 5 นาที
- นักเรียนยืนขึ้นตั้งแถวตอนลึก 4 แถว
- ครูและนักเรียนไหว้ทักทายกันอย่างนอบน้อม
- ครูพานักเรียนกลับมารับรู้ที่ลมหายใจของตนเอง 2-3 ลมหายใจ
- เพลงบรรเลงพัฒนาคลื่นสมอง
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสมาธิจดจ่อ
- ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆ
- ฝึกการหายใจเข้า-ออก อย่างถูกวิธี
ขั้นกิจกรรม 15 นาที
- ครูและนักเรียนเตรียมความ ด้วยท่ายืนตรงกำหนดลมหายใจ เข้า-ออก สัก 4-5 ลมหายใจ
- ครูเล่าเรื่องเชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะในแต่ละท่าให้ทำเป็นคู่ 2 คน
1. ยืน (แต่ละท่าให้ทำ 2 รอบ)
- ท่าไหว้พระอาทิตย์ ท่าต้นไม้
- ท่าภูเขา
- ท่าเครื่องบิน
2. นั่ง (แต่ละท่าให้ทำ 2 รอบ)
- ท่าผีเสื้อ
- ท่าเต่า
- ท่าหงส์
3. นอน (แต่ละท่าให้ทำ 2 รอบ)
- ท่าจระเข้
- ท่างูใหญ่
- ท่าคันธนู
- ท่าตั๊กแตน
- ท่าปลาดาว เป็นท่าสุดท้ายที่ให้นักเรียนผ่อนคลายร่างกาย 5 นาที
- ครูเชิญให้นักเรียนค่อยๆลุกขึ้นมานั่งเป็นวงกลม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการนวดกดจุด
ขั้นจบ
- เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ 5 นาที
- ครู Empower ชื่นชมและให้กำลังใจ
- ครูและนักเรียนไหว้ขอบคุณกันและกันอย่างนอบน้อม



Quarter1/2560
หน่วย : you are what you eat ?
 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

หน่วย : You are what you eat?
คำถามหลัก : การเลือกรับประทานอาหารส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร
ภูมิหลังของปัญหา : จากสภาพการเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้พฤติกรรมการบริโภค ของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไป นิยมอาหารประเภทที่เข้าถึงตัวผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว หาซื้อง่าย ถูกปากคนรุ่นใหม่ บรรจุภัณฑ์สวยงามและพกพาไปด้วยได้ทุกที่ เช่นอาหารประเภท อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน ขนมขบเคี้ยว ฯลฯ ซึ่งไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย อาหารเหล่านี้จัดเป็นอาหารขยะ ทำให้สัดส่วนเด็กไทยมีแนวโน้มสู่สภาวะเด็กอ้วน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาและพฤติกรรมการบริโภคของเด็กส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียน สติปัญญา ดังนั้นจึงจำเป็นที่พี่ ป.6 ควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของการเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
เป้าหมายของความเข้าใจ : นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
เวลาเรียน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

Mind Map


Web เชื่อมโยงบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ

STEM 


Web core subject


ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “you are what you eat ?” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 Quarter 2 ภาคเรียนที่ 1/2560

สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
1. สร้างฉันทะ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
- Mind Mappingก่อนเรียน
มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง สถานการณ์ที่จะศึกษา รวมทั้งปัญหาที่อยากแก้ไขตามความสนใจได้
(ว 8.1 .4/1)
- สามารถออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าเสนอวิธีสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการศึกษาค้นคว้าได้ (ว 8.1.4/2)
สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไขได้
(ว
 8.1 .4/5)
 - เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นนำเสนอและให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตน เองสนใจได้
(ว 8.1 .4/5)
- นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ว 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  2.1
- เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีระหว่างการร่วมกิจกรรมได้ (ส
 2.1 .4/2)   
สามารถนำเสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างการเรียน การทำกิจกรรมและใช้ในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 .4/5)   
มาตรฐาน ส 4.1
- เข้าใจและสามารถนับช่วง เวลาเป็นศตวรรษและสหัสวรรษและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ (ส 4.1 ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถอธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติความเป็นมาของมนุษย์กับปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้
(ส 4.1 ป.4/2)   
มาตรฐาน ง 1.1
- เข้าใจทักษะในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนและอธิบายเหตุผลในการทำงานได้
(ง 1.1 .4/1-2)
สามารถปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (ง 1.1 .4/3)
อธิบายการใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ง 1.1 .4/4)
มาตรฐาน พ 2.1
สามารถแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพื่อนทั้งชายและหญิงขณะทำกิจกรรมและเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
(พ 2.1 .4/2)   
มาตรฐาน พ 4.1
เข้าใจและสามารถอธิบายสภาวะอารมณ์ของคนที่อยู่ในยุคสมัยต่างๆที่มีผลต่อการดำรงชีวิตได้
(พ 4.1 ป.4/5)   
มาตรฐาน ศ 1.1
- สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของสีวรรณะอุ่นและ สีวรรณะเย็นที่มีผลต่ออารมณ์ของมนุษย์ผ่านการวาดตกแต่งผลงานได้
(ศ 1..4/2/3) 
เข้าใจทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างสรรค์ งานวาดภาพระบายสีได้  (ศ 1.1  .4/5)   
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
2. โครงสร้าง
 หน้าที่และการทำงานของร่างกาย(มนุษย์,พืช และสัตว์)
1. ภายใน
ระบบย่อยอาหาร
ระบบหายใจ
ระบบขับถ่าย
ระบบโครงกระดูก
ระบบสืบพันธุ์
     ฯลฯ
 2. ภายนอก
ผิวหนัง
มือ
เท้า
แขน
ปาก
ตา
หู
ฯลฯ
มาตรฐาน ว 1.1
ทดลองการคายน้ำของพืช และอธิบายหน้าที่ของท่อลําเลียงและ ปากใบของพืชได้ (ว 1.1 .4/1)
-  อธิบายนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แสงและคลอโรฟีลล์ เป็น
ปัจจัยที่จําเป็นบางประการต่อการเจริญเติบโตและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 (8.1 .4/2)
- สังเกตและระบุส่วนประกอบของโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ได้
(ว 8.1 .5/1)
อธิบายการทำงาน
ที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ 
( 8.1 .6/2)
มาตรฐาน ว 1.2
อธิบายการถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์สิ่งมีชีวิตในแต่ละรุ่น(ว 1.2 .5/2)
จำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่มโดยใช้ลักษณะภายในบางลักษณะและลักษณะภายนอก
เป็นเกณฑ์
(ว 1.2 .5/5)
มาตรฐาน ว 8.1
ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่จะศึกษาตามที่กำหนด
ให้ และตามความสนใจ ( 8.1 .4/1)
บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอ ผลสรุปผลสนใจ
( 8.1 .4/4)
แสดงความคิดเห็น และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
และสนใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
( 8.1 .4/6)
นำเสนอ จัด แสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการนำเสนองานโครงสร้างภายใน/ภายนอกของคนและพืชและสัตว์ได้
(ส
 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตน
ในการ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
(ส 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน
(ส 2.1  .4/5)
มาตรฐาน   4.1
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล
( ส  4.1 . 5 / 2)     
มาตรฐาน ส 4.2  
อธิบายการตั้งหลักแหล่งและพัฒนาการของมนุษย์และสัตว์ได้
(ส 4.2  . 4/1)     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์
(ง 1.1 .4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากร 
ในการทำงาน
อย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
ใช้ทักษะ
การจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน
( 1.1 .6/2)
มาตรฐาน ง 3.1
ค้นหา  รวบรวมข้อมูลที่สนใจและ  
เป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์
( 3.1 .5/1)
สร้างงานเอกสารเพื่อใช้ประโยชน์
ในชีวิตประจำวันด้วยความรับผิดชอบ
( 3.1 .5/2) 

    
มาตรฐาน พ 1.1
อธิบายการเจริญเติบ
โตและพัฒนาการ
ของร่างกาย 
( 1.1 .4/1)
อธิบายความสำคัญ
ของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อที่มีผลต่อสุขภาพ 
( 1.1 .4/2)
- อธิบายวิธีดูแลกล้ามเนื้อ  กระดูก  และข้อ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพ 
( 1.1 .4/3)
อธิบายความสำคัญ
ของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายที่มีผลต่อสุขภาพ
 (.5/1)
อธิบายวิธีดูแลระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้ทำงานตามปกติ( 1.1 .5/2)
อธิบายความ สำคัญของระบบสืบพันธุ์ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ที่มีผลต่อสุขภาพ ( 1.1.6/1)
อธิบายวิธีการดูแลระบบสืบพันธุ์  ระบบไหลเวียนโลหิต   และระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ 
( 1.1 .6/2)

มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
มาตรฐาน ศ 2.1
ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในการแสดงออกตามจินตนาการ
( 2.1 5/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
3. โรคที่มาจากการอ้วน- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคมะเร็งในเด็ก
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
มาตรฐาน ว 8.1
แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปโรคที่เกิดจาการอ้วนได้
( 8.1 .4/6)
นำเสนอโรคที่เกิดจากการอ้วนผ่านบทบาทสมมุติเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการแสดงบทบาทสมมุติ (ส 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนในการ 
เป็นผู้นำและผู้ตาม
ที่ดี (ส
 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1  .4/5)
มาตรฐาน   4.1
รวบรวมข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อตอบคำถามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ 
( ส  4.1 . 5/1)
     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1.4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
มาตรฐาน พ 4.1- สามารถอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพได้ 
(พ
 4.1 ป.4/1)
- สามารถอธิบาย
สุขภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพได้
 
(พ
 4.1 ป.4/2)
มาตรฐาน พ 5.1อธิบายความสำคัญของการใช้ยาและการใช้ยาอย่างถูกวิธีเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ (พ 5.1ป.5/1)
มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3  .4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
4. อาหารสุขภาพ- อาหารหลัก 5หมู่
- ทดสอบสารอาหาร
- การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับการทดสอบสารอาหารได้( 8.1 .4/1)
แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปอาหารหลัก 5 หมู่ได้
( 8.1 .4/6)
นำเสนอโรคที่เกิดจากการอ้วนผ่านบทบาทสมมุติเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้อื่นได้รับประทาน
(ส
 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนในการ 
เป็นผู้นำและผู้ตาม
ที่ดีในการร่วมประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
 
(ส
 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 .4/5)
มาตรฐาน   4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพได้
( ส  4.3 . 4 / 3)     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1.4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภคได้
(พ
 4.1 ป.4/3)
- สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้
(พ
 4.1 ป.5/2)
มาตรฐาน พ 5.1
สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากการประกอบอาหารได้
(พ
 5.1 ป.5/2)
มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
5. การดูสุขภาวะของตัวเราและการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา
มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยสำหรับตนเองได้ 
( 8.1 .4/1)
แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปการดูแลสุขภาวะของตนเองในชีวิตประจำวันได้
( 8.1 .4/6)
นำเสนอแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้อื่นได้รับประทาน
(ส
 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนในการ 
เป็นผู้นำและผู้ตาม
ที่ดีในการร่วมประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
 
(ส
 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 .4/5)
มาตรฐาน   4.1
รวบรวมข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้รู้เท่าทันกับสื่อโฆษณาที่หลากหลายในปัจจุบัน 
( ส  4.1 . 5/1)
     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1.4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถทดสอบและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายและออกแบบการดูแลสุขภาวะของตนเองได้ (พ 4.1ป.4/4)
- สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้
(พ
 4.1 ป.5/2)
- สามารถวิเคราะห์สื่อโฆษณาในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างมีเหตุผล (พ
 4.1 ป.5/3)
มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
6. สรุปการเรียนรู้
- วิเคราะห์สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรปรับปรุง
- Mind Mappingหลังเรียนรู้
- นำเสนอการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 8.1
- ใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับน้ำในปัจจุบันและอนาคตผ่านการทำชิ้นงานแผนภาพ ความคิดและการแสดงแล้วนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ตนเองศึกษา
(ว 8.1 ป.4/1)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้จากสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ ควรปรับปรุงในการเรียนรู้ได้  (ว 8.1 ป.4/4-6)
- บันทึกและอธิบายผลการศึกษาค้นคว้า การตรวจสอบ โดยสรุปเป็นMind Mapping หรือคำอธิบาย แล้วนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.4/7-8)
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อเพื่อนหรือสมาชิกกระทำสิ่งที่เหมาะสมอย่างจริงใจ
(ส 1.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามหน้าที่ของตน
(ส 1.2 ป.4/1)
มาตรฐาน ส 4.2
- อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง
เรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน
(ส 4.2 . 4/2)
- เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน 
(ส
 4.2 .4/3)
มาตรฐาน ง 1.1
ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน 
(ง
 1.1 . 4/3)
มาตรฐาน ง 2.1
มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ง 2.1 ป.4/4)
มาตรฐาน พ 2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการวางแผนสรุปการเรียนรู้
(พ 2.1 . 4/1)
- ให้เกียรติและบอกความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเรียน การทำงาน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้
(พ 2.1 . 4/2)
มาตรฐาน ศ 1.1
สามารถสร้างสรรค์ผลงานและออกแบบฉากประกอบการแสดงได้
(ศ 1.1 ป.4/7)
มาตรฐาน  2.1
สามารถร้องเพลงประกอบการแสดงสรุปการเรียนรู้ พร้อมทั้งเคลื่อนไหวท่าทางได้เหมาะสมสอดคล้องกับเพลงที่ร้อง (ศ 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน  3.1
มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงที่เหมาะสม
(ศ 3.1 ป.4/5)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)


ปฏิทินการเรียนรู้บูรณาการ (Problem Based Learning) PBL หน่วย: “you are what you eat
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 (Quarter 1) ปีการศึกษา 2559

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและเห็นคุณค่าของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายและความสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Question :
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร/เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น
เครื่องมือคิด 
- Round Robin
- Think Pair Share
- Blackboard Share
- Show and Share 
-
 Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
- ครูและนักเรียนทักทายกัน โดยสร้างปฏิสัมพันธ์ในแนวราบ
- ครูสร้างแรงบันดาลใจด้วยการให้ดูคลิป VDO สัตว์โลกอ้วนกลมนักเรียนเห็นอะไรบ้าง/เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น/แล้วถ้าเป็นตัวเราจะทำอย่างไร?
- นักเรียนทำแบบทดสอบร่างกายของตัวเอง โดยการชั่งน้ำหนักตัว วัดส่วนสูง วัดรอบเอว เปรียบเทียบมาตรฐานน้ำหนักกับส่วนสูง
:ร่างกายของเราเป็นอย่างไร/นักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับร่างกายของตนเองในขณะนี้(ประเมินสภาพร่างกายด้วยตนเอง) 
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : รอบเอวและน้ำหนักตัวที่มากมีผลอย่างไรกับตัวเรา/นักเรียนจะทำอย่างไรต่อไป
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
:จากปัญหาที่นักเรียนประสบอยู่นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเพื่อทำความเข้าใจแล้วนำมาแก้ไขปัญหาให้กับตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
-
 ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาในสัปดาห์นี้ร่วมกัน : นักเรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างในสัปดาห์นี้
- เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ภาระงาน
แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่ได้ดู
- ช่วยกันเพื่อตั้งชื่อหน่วยที่เป็นปัญหาและน่าเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้ดูจากคลิป
- แบบทดสอบร่างกาย
ภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่1
ความรู้
เข้า ใจความต้องการของตนเองสามารถพูดอธิบาย
พร้อมกับตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจและเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ และสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
โจทย์ : ออกแบบ/วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “
You are what you eat
นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 10สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด 
- Blackboard Share 
-
 Mind Mapping  
-
 Show and Share 
-
 Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 :นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับหน่วย “
You are what you eat : นักเรียนจะสรุปสิ่งที่รู้แล้วทั้งหมดของตนเองอย่างไร
- นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเป็นรายบุคคลผ่านเครื่องมือคิด (
Mind Mapping)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 : นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 : นักเรียนจะออกแบบและวางแผนกิจกรรมจากสิ่งที่อยากเรียนรู้อย่างไร
-
 ครูและนักเรียนออกแบบและวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้10 สัปดาห์ร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ภาระงาน
-  แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
-  ช่วยกันเพื่อออกแบบและวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ร่วมกัน
- การทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ชิ้นงาน
-  สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ทำปฏิทินการเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่2
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ และสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
โจทย์ : การกำเนิด
Key Questions :
นักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
- ทำไมต้องมีการเกิด / สิ่งอื่นดำรงเผ่าพันธุ์หรือขยายพันธุ์อย่างไร?
- มนุษย์ พืช และสัตว์ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด 
- Flowchart 
- Blackboard Share
- Show and Share  
-
 Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- Internet
- ครูเปิดคลิป VDO การกำเนิดมนุษย์นักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร 
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดของตนเองในรูปแบบของ
 
Flowchart เป็นรายบุคคล
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำไมต้องมีการเกิด / สิ่งอื่นดำรงเผ่าพันธุ์หรือขยายพันธุ์อย่างไร/มนุษย์ พืช และสัตว์ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
- นักเรียนสรุปการดำรงเผ่าพันธุ์ของพืชและสัตว์ลงในตาราง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม:สิ่งต่างๆรวมทั้งตัวเราเติบโตขึ้นได้อย่างไร?
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ
 : ปัจจัยที่ส่งผลให้เราเติบโตมีอะไรบ้าง แล้วสิ่งเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างไร 
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต
(ระบบหายใจ
,ระบบย่อย,ระบบขับถ่ายและระบบต่อมต่างๆ)
- นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นกลุ่มตามระบบทั้ง
 4 กลุ่มละ 5-6 คน
- ครูพานักเรียนทำการทดลองสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร เพื่อให้ทราบว่าส่วนประกอบของอาหารที่อภิโภคในแต่ละวันมีปนเปื้อนอยู่ด้วย
- นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีแยกสารปนเปื้อนในอาหาร
 - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ภาระงาน
การดูคลิป VDO การกำเนิดมนุษย์
- การวิเคราะห์ปัจจัยในการเจริญเติบโตของคน,พืช,และสัตว์
- การศึกษาและวิเคราะห์ระบบหายใจ,ระบบย่อย,ระบบขับถ่ายและระบบต่อมต่างๆ
- ทำการทดลองสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร
ชิ้นงาน
Flowchart การกำเนิดของมนุษย์
สรุปโครงสร้างทั้ง 4ระบบ ของมนุษย์ พืชและสัตว์
- สรุปผลการทดลองสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่3
ความรู้
เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
โจทย์ : โครงสร้างของร่างกายมนุษย์
Key Questions :
- มนุษย์ต้องการน้ำและอาหารไปเพื่ออะไร?
ระบบต่างๆในร่างกายมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
เครื่องมือคิด 
- Round Robin  
- Blackboard Share 
-
 Show and Share 
-
 Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- Internet
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่แล้วร่วมกันและกระตุ้นด้วยคำถามต่อ :ถ้าสารเคมีปนเปื้อนในอาหารเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะเกิดอะไรขึ้น
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและ แล้วครูเชิญนักเรียนที่นำเสนอมาช่วยเขียนบนกระดาน
- นักเรียนจับสลากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบต่างๆที่ถูกทำลายจากสารเคมีปนเปื้อนแต่ละชนิดเช่น ระบบกล้ามเนื้อ
,ระบบโครงกระดูก,ระบบประสาท,ระบบไหลเวียนเลือดและระบบต่อมไรท่อต่างๆ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 : ระบบต่างๆในร่างกายมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- นักเรียนสรุปความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4


ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
- นำเสนอชาร์ตความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ
- สรุปความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่
4
ความรู้
เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต

ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจผลร้ายของโรคอ้วนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสามารถดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคอ้วนได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
โจทย์ : ร่างกายบอกอะไร
Key Questions :
- ทำไมคนจึงป่วย?
โรคอ้วนเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด 
- Round Robin 
- Place Mat
- Show and Share 
-
 Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “เราอาจจะตายเพราะกิน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำไมคนจึงป่วย
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
ครูให้นักเรียนดูคลิป VDO “เราอาจจะตายเพราะกิน”:นักเรียนเห็นอะไรบ้าง/รู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ดู/แล้วนักเรียนจะทำอย่างไร
-
 นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป VDOผ่านเครื่องมือคิด (Place Mat)
- ครูเปิดภาพรวมพลคนอ้วนแล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิด:โรคอ้วนเกิดขึ้นได้อย่างไร
- นักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาโรคต่างๆที่เป็นผลพวงจากการเกิดโรคอ้วน
- นักเรียนนำเสนอชาร์ตโรคต่างๆที่เป็นผลพวงมาจากโรคอ้วน และหาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
-
 สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ภาระงาน
- ดูคลิป VDO “เราอาจจะตายเพราะกิน
การอภิปรายร่วมกัน
การวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป VDO
- การศึกษาโรคต่างๆที่เป็นผลพวงจากการเกิดโรคอ้วน
- การแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับผลพวงของโรคอ้วน
ชิ้นงาน
- Place Matวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปVDO
ชาร์ตโรคต่างๆที่เป็นผลพวงจากการเกิดโรคอ้วน
บทบาทสมมุติเกี่ยวกับผลพวงของโรคอ้วน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่5
ความรู้
เข้าใจผลร้ายของโรคอ้วนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคอ้วนได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายอาหารหลัก 5 หมู่ตลอดจนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
โจทย์ : อาหารสุขภาพClean food
Key Questions :
ทำไมต้องกินอาหาร?
- อาหารมีประโยชน์ต่อตัวเราอย่างไร?
เครื่องมือคิด 
- Round Robin  
- Blackboard Share
- Show and Share  
-
 Wall Thinking 
- Gard and Chart
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- ห้องครัวประถม
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำไมต้องกินอาหาร?/อาหารมีประโยชน์ต่อตัวเราอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนแบ่งเป็นห้ากลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารต่างๆตามที่จับสลากได้(อาหาร 5 หมู่)
- นักเรียนสรุปอาหารหลัก
 5 หมู่ในรูปแบบของ
ชิ้นงานที่หลากหลายตามความถนัดของตนเองเช่นFlowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง 
-
 ครูพานักเรียนทำการทดสอบสารอาหารอย่างง่าย
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสรุปผลการทดสอบสารอาหาร

- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะประกอบอาหารที่มีคุณค่าให้กับตัวเองอย่างไร
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการ
ประกอบอาหารที่มีคุณค่าให้กับตัวเอง
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น
 5 กลุ่มๆละ 5 คน เพื่อออกแบบและวางแผนการประกอบอาหาร จาก Gard and Chart โดยคำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ตามที่ร่างกายต้องการ
-
 นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ภาระงาน
แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับทำไมต้องกินอาหาร?/อาหารมีประโยชน์ต่อตัวเราอย่างไร
- การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่
- การทดสอบสารอาหารอย่าง่าย
- การประกอบอาหารสุขภาพ
ชิ้นงาน
- สรุปอาหารหลัก 5 หมู่
- สรุปผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายอาหารหลัก 5หมู่ตลอดจนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถออกและวางแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองพร้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
7
โจทย์ : สุขภาวะที่ดี
Key Question :
ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะมีสุขภาวะที่ดี?
เครื่องมือคิด 
- Think Pair Share 
- Mind Mapping 
- Blackboard Share
- Show and Share 
-
 Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในชั้นเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะมีสุขภาวะที่ดี
- ครูแจกกระดาษให้
นักเรียนเขียนวิธีที่จะทำให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดีผ่านเครื่องมือคิด (Think Pair Share)
- นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ของวิธีการที่จะทำให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดีเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 : นักเรียนจะออกแบบ
และวางแผนการดูแลสุขภาวะของเราอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนวิธีการออกแบบและวางแผนการดูแลสุขภาวะร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
- นักเรียนออกแบบวางแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองให้ได้ตามมาตรฐานที่เหมาะสมกับช่วงวัย (การกิน,การออกกำลังกาย,การพักผ่อนฯลฯ)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะดูแลร่างกายอย่างไรให้สะอาด?”
- นักเรียนศึกษาการอาบน้ำแปรงฟันและการทำความสะอาดร่างกายที่ถูกต้องตามหลักอนามัย
- นักเรียนซ้อมการแสดงเพื่อถ่ายทอดการดูแลร่างกายที่ถูกต้อง
- นักเรียนถ่ายทอดการดูแลร่างกายที่ถูกต้องผ่านบทบาทสมมุติ
- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแสดงบทบาทสมมุติและเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาต่อยอดกันและกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7
ภาระงาน
- ช่วยกันจัดหมวดหมู่ของวิธีการที่จะทำให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดี
- ออกแบบวางแผนการดูแลร่างกายให้ได้ตามมาตรฐานที่เหมาะสมกับช่วงวัย
- ถ่ายทอดการดูแลร่างกายที่ถูกต้องผ่านบทบาทสมมุติ
ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปวิธีการดูแลสุขภาวะของตนเอง
- แผนการดูแลสุขภาวะของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่7
ความรู้
นักเรียนสามารถออกและวางแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองพร้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : รู้เท่าทันสื่อโฆษณา และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อตัวเองได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
โจทย์ : อาหาร 4 ภาค

Key Questions :
- จากภาพคิดว่าเป็นอาหารอะไร
-
 คิดว่าเป็นอาหารของภาคใด?
- อาหารแต่ละภาคมีความแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
 
-
 Card and Chart 
- Show and Share
- Jigsaw 
-
 Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในชั้นเรียน
- นักเรียนดูภาพ  อาหารแต่ละภาค” 
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : จากภาพคิดว่าเป็นอาหารอะไร/คิดว่าเป็นของภาคใด/อาหารแต่ละภาคมีความแตกต่างกันอย่างไร
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น
4 กลุ่ม แจกบัตรภาพอาหารให้นักเรียนแล้วให้นำไปติดตามภาคในแผนที่ประเทศไทย
- นักเรียนแต่ละกลุ่มหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหาร 4 ภาค โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw
- นักเรียนนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8
ภาระงาน
- เขียนแสดงความคิดของตนเองเกี่ยวกับภาพอาหาร
- ติดภาพอาหารในแผนที่ประเทศไทย
- แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหาร 4 ภาค
ชิ้นงาน
- สรุปอาหาร 4 ภาค
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่8
ความรู้
รู้เท่าทันสื่อโฆษณา และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อตัวเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต

ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอด องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome
9
โจทย์ : 
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
คำถาม
  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?
- นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
นักเรียนทำ 
สิ่งใดได้ดี และต้องพัฒนาบ้างเพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด  
- Round Robin 
-
 Show and Share 

- Mind Mapping  
-
 Wall Thinking ชิ้นงาน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 
บรรยากาศนานห้องเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมามีอะไรบ้าง
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียนเป็นรายบุคคล
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 : ตลอด Quarter ที่ผ่านมาสิ่งไหนบ้างที่นักเรียนทำได้สำเร็จ และสิ่งไหนบ้างที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมต่อยอดต่อไป
-
 นักเรียนประเมินตนเองเป็นรายบุคคลในรูปแบบของMind Mapping 
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 : นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อม ในการสรุปนำเสนอเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบของนิทรรศการ

- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9
ภาระงาน 
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนา
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียน
ชิ้นงาน 
- Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- สรุปสิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ 9
ความรู้ : 
นักเรียนเข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome
10-11
โจทย์ : 
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
คำถาม
- นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
- นักเรียนจะจัดและตกแต่งบรรยากาศห้องเรียนอย่างไร
เครื่องมือคิด  
- Show and Share 
ชิ้นงาน

- Wall Thinking ชิ้นงาน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 
บรรยากาศนานห้องเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะจัดและตกแต่งบรรยากาศห้องเรียนอย่างไร/นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจัดเตรียมสถานที่
จัดบรรยากาศห้องเรียน เพื่อเตรียมเปิดห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- เผยแพร่องค์ความรู้ ในรูปแบบของนิทรรศการ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
 : นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการเผยแพร่องค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
-
 นักเรียนเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาในสัปดาห์นี้ร่วมกัน : นักเรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างในสัปดาห์นี้
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาตลอดทั้งสัปดาห์
-
 สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10
ภาระงาน 
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน
จัดนิทรรศการสรุปและเผยแพร่องค์ความรู้
ชิ้นงาน 
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ 10
ความรู้ : 
นักเรียนเข้าใจและสามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย



Quarter 2/2560
หน่วย อาหารเพื่อสุขภาพ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

หน่วย : อาหารเพื่อสุขภาพ
คำถามหลัก(Big Question) : อาหารเพื่อสุขภาพมีความสำคัญกับชีวิตเราอย่างไร
ภูมิหลังของปัญหา : สภาพการเป็นอยู่ในปัจจุบัน ชีวิตมีความเร่งรีบมากขึ้น จนไม่ค่อยมีเวลาที่จะให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารสักเท่าไหร่ ดังนั้นพี่ป.จึงควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากอาหารสุขภาพ จะช่วยส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงหรือป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะตามมาจากการรับประทานได้
เป้าหมายของความเข้าใจ(Understanding Goal) : รู้จักและเห็นความสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ สามารถอธิบายและสามารถประกอบอาหารเพื่อสุขภาพรวมทั้งการเลือกบริโภคอย่างเหมาะสมตามความจำเป็นของร่างกาย
เวลาเรียน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์


Mind Map


Web เชื่อมโยงบูรณาการ กลุ่มสาระ

STEM 


Web core subject



ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “อาหารเพื่อสุขภาพ” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 Quarter 2 ภาคเรียนที่ 1/2560

สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
1. สร้างฉันทะ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
- Mind Mappingก่อนเรียน
มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง สถานการณ์ที่จะศึกษา รวมทั้งปัญหาที่อยากแก้ไขตามความสนใจได้
(ว 8.1 .4/1)
- สามารถออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าเสนอวิธีสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการศึกษาค้นคว้าได้ (ว 8.1.4/2)
สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไขได้
(ว
 8.1 .4/5)
 - เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นนำเสนอและให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตน เองสนใจได้
(ว 8.1 .4/5)
- นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ว 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  2.1
- เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีระหว่างการร่วมกิจกรรมได้ (ส
 2.1 .4/2)   
สามารถนำเสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างการเรียน การทำกิจกรรมและใช้ในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 .4/5)   
มาตรฐาน ส 4.1
- เข้าใจและสามารถนับช่วง เวลาเป็นศตวรรษและสหัสวรรษและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ (ส 4.1 ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถอธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติความเป็นมาของมนุษย์กับปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้
(ส 4.1 ป.4/2)   
มาตรฐาน ง 1.1
- เข้าใจทักษะในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนและอธิบายเหตุผลในการทำงานได้
(ง 1.1 .4/1-2)
สามารถปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (ง 1.1 .4/3)
อธิบายการใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ง 1.1 .4/4)
มาตรฐาน พ 2.1
สามารถแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพื่อนทั้งชายและหญิงขณะทำกิจกรรมและเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
(พ 2.1 .4/2)   
มาตรฐาน พ 4.1
เข้าใจและสามารถอธิบายสภาวะอารมณ์ของคนที่อยู่ในยุคสมัยต่างๆที่มีผลต่อการดำรงชีวิตได้
(พ 4.1 ป.4/5)   
มาตรฐาน ศ 1.1
- สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของสีวรรณะอุ่นและ สีวรรณะเย็นที่มีผลต่ออารมณ์ของมนุษย์ผ่านการวาดตกแต่งผลงานได้
(ศ 1..4/2/3) 
เข้าใจทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างสรรค์ งานวาดภาพระบายสีได้  (ศ 1.1  .4/5)   
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
2. โครงสร้าง
 หน้าที่และการทำงานของร่างกาย(มนุษย์,พืช และสัตว์)
1. ภายใน
ระบบย่อยอาหาร
ระบบหายใจ
ระบบขับถ่าย
ระบบโครงกระดูก
ระบบสืบพันธุ์
     ฯลฯ
 2. ภายนอก
ผิวหนัง
มือ
เท้า
แขน
ปาก
ตา
หู
ฯลฯ
มาตรฐาน ว 1.1
ทดลองการคายน้ำของพืช และอธิบายหน้าที่ของท่อลําเลียงและ ปากใบของพืชได้ (ว 1.1 .4/1)
-  อธิบายนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แสงและคลอโรฟีลล์ เป็น
ปัจจัยที่จําเป็นบางประการต่อการเจริญเติบโตและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 (8.1 .4/2)
- สังเกตและระบุส่วนประกอบของโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ได้
(ว 8.1 .5/1)
อธิบายการทำงาน
ที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ 
( 8.1 .6/2)
มาตรฐาน ว 1.2
อธิบายการถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์สิ่งมีชีวิตในแต่ละรุ่น(ว 1.2 .5/2)
จำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่มโดยใช้ลักษณะภายในบางลักษณะและลักษณะภายนอก
เป็นเกณฑ์
(ว 1.2 .5/5)
มาตรฐาน ว 8.1
ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่จะศึกษาตามที่กำหนด
ให้ และตามความสนใจ ( 8.1 .4/1)
บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอ ผลสรุปผลสนใจ
( 8.1 .4/4)
แสดงความคิดเห็น และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
และสนใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
( 8.1 .4/6)
นำเสนอ จัด แสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการนำเสนองานโครงสร้างภายใน/ภายนอกของคนและพืชและสัตว์ได้
(ส
 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตน
ในการ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
(ส 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน
(ส 2.1  .4/5)
มาตรฐาน   4.1
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล
( ส  4.1 . 5 / 2)     
มาตรฐาน ส 4.2  
อธิบายการตั้งหลักแหล่งและพัฒนาการของมนุษย์และสัตว์ได้
(ส 4.2  . 4/1)     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์
(ง 1.1 .4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากร 
ในการทำงาน
อย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
ใช้ทักษะ
การจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน
( 1.1 .6/2)
มาตรฐาน ง 3.1
ค้นหา  รวบรวมข้อมูลที่สนใจและ  
เป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์
( 3.1 .5/1)
สร้างงานเอกสารเพื่อใช้ประโยชน์
ในชีวิตประจำวันด้วยความรับผิดชอบ
( 3.1 .5/2) 

    
มาตรฐาน พ 1.1
อธิบายการเจริญเติบ
โตและพัฒนาการ
ของร่างกาย 
( 1.1 .4/1)
อธิบายความสำคัญ
ของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อที่มีผลต่อสุขภาพ 
( 1.1 .4/2)
- อธิบายวิธีดูแลกล้ามเนื้อ  กระดูก  และข้อ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพ 
( 1.1 .4/3)
อธิบายความสำคัญ
ของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายที่มีผลต่อสุขภาพ
 (.5/1)
อธิบายวิธีดูแลระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้ทำงานตามปกติ( 1.1 .5/2)
อธิบายความ สำคัญของระบบสืบพันธุ์ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ที่มีผลต่อสุขภาพ ( 1.1.6/1)
อธิบายวิธีการดูแลระบบสืบพันธุ์  ระบบไหลเวียนโลหิต   และระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ 
( 1.1 .6/2)

มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
มาตรฐาน ศ 2.1
ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในการแสดงออกตามจินตนาการ
( 2.1 5/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
3. โรคที่มาจากการอ้วน- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคมะเร็งในเด็ก
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
มาตรฐาน ว 8.1
แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปโรคที่เกิดจาการอ้วนได้
( 8.1 .4/6)
นำเสนอโรคที่เกิดจากการอ้วนผ่านบทบาทสมมุติเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการแสดงบทบาทสมมุติ (ส 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนในการ 
เป็นผู้นำและผู้ตาม
ที่ดี (ส
 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1  .4/5)
มาตรฐาน   4.1
รวบรวมข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อตอบคำถามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ 
( ส  4.1 . 5/1)
     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1.4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
มาตรฐาน พ 4.1- สามารถอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพได้ 
(พ
 4.1 ป.4/1)
- สามารถอธิบาย
สุขภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพได้
 
(พ
 4.1 ป.4/2)
มาตรฐาน พ 5.1อธิบายความสำคัญของการใช้ยาและการใช้ยาอย่างถูกวิธีเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ (พ 5.1ป.5/1)
มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3  .4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
4. อาหารสุขภาพ- อาหารหลัก 5หมู่
- ทดสอบสารอาหาร
- การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับการทดสอบสารอาหารได้( 8.1 .4/1)
แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปอาหารหลัก 5 หมู่ได้
( 8.1 .4/6)
นำเสนอโรคที่เกิดจากการอ้วนผ่านบทบาทสมมุติเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้อื่นได้รับประทาน
(ส
 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนในการ 
เป็นผู้นำและผู้ตาม
ที่ดีในการร่วมประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
 
(ส
 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 .4/5)
มาตรฐาน   4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพได้
( ส  4.3 . 4 / 3)     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1.4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภคได้
(พ
 4.1 ป.4/3)
- สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้
(พ
 4.1 ป.5/2)
มาตรฐาน พ 5.1
สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากการประกอบอาหารได้
(พ
 5.1 ป.5/2)
มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
5. การดูสุขภาวะของตัวเราและการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา
มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยสำหรับตนเองได้ 
( 8.1 .4/1)
แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปการดูแลสุขภาวะของตนเองในชีวิตประจำวันได้
( 8.1 .4/6)
นำเสนอแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
( 8.1 .4/8)
มาตรฐาน  1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้อื่นได้รับประทาน
(ส
 1.1 .4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนในการ 
เป็นผู้นำและผู้ตาม
ที่ดีในการร่วมประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
 
(ส
 2.1 .4/2)
เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 .4/5)
มาตรฐาน   4.1
รวบรวมข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้รู้เท่าทันกับสื่อโฆษณาที่หลากหลายในปัจจุบัน 
( ส  4.1 . 5/1)
     
มาตรฐาน  1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1.4/2)
-  ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
( 1.1 .4/4)
ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( 1.1 .5/2)
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถทดสอบและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายและออกแบบการดูแลสุขภาวะของตนเองได้ (พ 4.1ป.4/4)
- สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้
(พ
 4.1 ป.5/2)
- สามารถวิเคราะห์สื่อโฆษณาในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างมีเหตุผล (พ
 4.1 ป.5/3)
มาตรฐาน ศ 1.1
อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ศ 1.1 .4/2)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 .4/5)
วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ
 1.1 .4/7)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)
สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
6. สรุปการเรียนรู้
- วิเคราะห์สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรปรับปรุง
- Mind Mappingหลังเรียนรู้
- นำเสนอการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 8.1
- ใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับน้ำในปัจจุบันและอนาคตผ่านการทำชิ้นงานแผนภาพ ความคิดและการแสดงแล้วนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ตนเองศึกษา
(ว 8.1 ป.4/1)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้จากสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ ควรปรับปรุงในการเรียนรู้ได้  (ว 8.1 ป.4/4-6)
- บันทึกและอธิบายผลการศึกษาค้นคว้า การตรวจสอบ โดยสรุปเป็นMind Mapping หรือคำอธิบาย แล้วนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.4/7-8)
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อเพื่อนหรือสมาชิกกระทำสิ่งที่เหมาะสมอย่างจริงใจ
(ส 1.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามหน้าที่ของตน
(ส 1.2 ป.4/1)
มาตรฐาน ส 4.2
- อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง
เรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน
(ส 4.2 . 4/2)
- เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน 
(ส
 4.2 .4/3)
มาตรฐาน ง 1.1
ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน 
(ง
 1.1 . 4/3)
มาตรฐาน ง 2.1
มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ง 2.1 ป.4/4)
มาตรฐาน พ 2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการวางแผนสรุปการเรียนรู้
(พ 2.1 . 4/1)
- ให้เกียรติและบอกความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเรียน การทำงาน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้
(พ 2.1 . 4/2)
มาตรฐาน ศ 1.1
สามารถสร้างสรรค์ผลงานและออกแบบฉากประกอบการแสดงได้
(ศ 1.1 ป.4/7)
มาตรฐาน  2.1
สามารถร้องเพลงประกอบการแสดงสรุปการเรียนรู้ พร้อมทั้งเคลื่อนไหวท่าทางได้เหมาะสมสอดคล้องกับเพลงที่ร้อง (ศ 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน  3.1
มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงที่เหมาะสม
(ศ 3.1 ป.4/5)
จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน 
(
.4/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
(
.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (.4/10)



ปฏิทินการเรียนรู้บูรณาการ (Problem Based Learning) PBL หน่วย: “อาหารเพื่อสุขภาพ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1 (Quarter 2) ปีการศึกษา 2560

Week
Input
Possess
Output
Outcome

1
โจทย์ : ออกแบบการเรียนรู้
Key  Questions :
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- วางแผนการเรียนรู้
เครื่องมือคิด :
- Think pair share เลือกชื่อหน่วย
- Black board share ตั้งชื่อหน่วย
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- บรรยากาศชั้นเรียน
- สื่อ VDO
ดู VDO “น้องบอยไม่กินผัก” ซึ่งเกี่ยวกับการกินอาหารของเด็ก
ครูตั่งคำถามกับนักเรียนว่าได้อะไรเกี่ยวกับการดู VDO นี้
       - นักเรียนเห็นอะไร
       - สาเหตุที่เป็นแบบนั้นคืออะไร
       - นักเรียนคิดว่าจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร
ภาระงาน :
การแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันเกี่ยวกับ VDO ที่ได้ดู
- ร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นปัญหาให้น่าสนใจ
 - สรุป Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้

ชิ้นงาน :
- ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Mind Mapping (ก่อนเรียน)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ได้ตรงตามเป้าหมาย
อธิบายกระบวนการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ:
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
2
โจทย์ : ออกแบบการเรียนรู้
- สิ่งที่อยากรู้/สิ่งที่รู้แล้ว
- วางแผนการเรียนรู้
Key  Questions :
- นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากรู้เรื่องอะไรบ้างในหน่วยที่ตนเองสนใจ ?
- “ถ้านักเรียนอยากทำอาหารเพื่อสุขภาพ นักเรียนอยากทำเมนูอะไร ?
เครื่องมือคิด
- Brainstorm
- Show and Share
- Mind Mapping 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-       เมล็ดข้าวเปลือก
-       บรรยากาศในชั้นเรียน
-     เขียนสิ่งที่ตนเองรู้และอยากรู้ และช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้  
-     นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนเรียน
-     นักเรียนเขียนความเหมือนและแตกต่างของอาหารในแต่ละมื้อ
-     นักเรียนจับคู่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวอาหารและวิธีการทำเพื่อ ออกแบบการนำเสนอ
-     นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ได้ค้นหามา สนทนาแลกเปลี่ยนความคิด
-     นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผ่านชิ้นงานตามรูปแบบความสนใจ เช่น  ชาร์ตข้อมูล ภาพ   Mind mapping ฯลฯ  
ภาระงาน :
สนทนาแลกเปลี่ยน วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ

ชิ้นงาน :
- Mind Mapping ก่อนเรียน
- ชาร์ตความรู้การคัดเลือกพันธุ์ข้าวและขั้นตอนการปลูกข้าว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนและกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ทักษะ :
-   ทักษะชีวิต
-   ทักษะการสื่อสาร
-   ทักษะการจัดการข้อมูล
-   ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
3-4
โจทย์ :  อาหาร 5 หมู่
-          ประเภทของสารอาหาร
-          วิธีการตรวจสอบสารอาหาร
-          วางแผนการรับประทาน
Key  Questions :
- ในแต่ละวันนักเรียนรับประทานอะไรบ้าง อย่างไร?
นักเรียนจะรับประทานอาหารในปริมาณเท่าไร จึงจะเพียงพอต่อความต้องการในร่างกายเรา?
นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารแต่ละอย่างมีสารอาหารใดบ้าง?  
-     นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายตนเองอ้วนผอม หรือ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
-     นักเรียนจะออกแบบตารางการบริโภคและพัฒนาสมรรถภาพด้านต่างๆของตนเองได้อย่างไร?         
เครื่องมือคิด :
-    Brainstorm
-    Show and share
-    Placemat
-     Web
-     Timeline
- BAR, DAR, AAR
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
เมนูอาหาร
- บรรยากาศในชั้นเรียน
คลิปวีดีโอ เรื่อง “อาหาร 5 หมู่เพื่อสุขภาพ
 - คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
- ครูให้นักเรียนสังเกตเมนูอาหารมื้อต่างๆ (แซนวิช ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ก๋วยเตี๋ยว)
- นักเรียนเขียนอาหารที่รับประทานในมื้อเช้าของวัน ร่วมกันสนทนาได้คุณค่าจากอาหารเช้าอะไรบ้าง
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับอาหารมื้อเช้า
นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ สารอาหาร คุณค่าที่ได้รับ)
นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ครูเปิดคลิปวีดีโอ เรื่อง “อาหาร 5 หมู่เพื่อสุขภาพ
-   นักเรียนค้นคว้าปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละช่วงวัย วัดดัชนีมวลกาย
-   สรุปการเรียนเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-  สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาหารในมื้อเช้า 
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
- นำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหารและวิธีการตรวจสอบสารอาหาร
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
- ค้นหาและนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละช่วยวัย                                   

ชิ้นงาน
- Mind Mapping,ชาร์ตความรู้การ์ตูนช่อง เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆ
- Timeline เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละช่วงวัย                                   
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-     เข้าใจและสามารถอธิบายประเภทของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
-      เข้าใจและสามารถอธิบายการเลือกรับประทานอาหารของคนในแต่ละช่วงวัยได้
-      เข้าใจและอธิบายว่าร่างกายของตนเองอยู่ในเกณฑ์ อ้วนหรือผอม อีกทั้งนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือ
ทักษะICT
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอข้อมูลที่สืบค้นในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย อาทิเช่น Mind Mapping,ชาร์ตความรู้การ์ตูนช่อง ฯลฯ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5-6
โจทย์ : ปริมาณที่พอเหมาะในการทำอาหาร
-       อัตตราส่วนของอาหารและปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับ
-       หน้าที่ประโยชน์
-       การแปรรูป (ประกอบอาหาร)          
Key  Questions :
- นักเรียนรู้สึกอย่างไร ที่ได้กินอาหารที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง
- นักเรียนมีวิธีการคำนวนแคลอรี่ในอาหารได้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
-    Show and Share
-    Round Rubin
-    Brainstorm
- Flow chart
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อุปกรณ์การแปรรูปอาหาร
- อุปกรณ์ส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- รับประทานอาหารก่อนการแปรรูปอาหาร
- ลอง
- ค้นคว้าประเภท ประโยชน์ อาหารที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
-    แปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ
ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- ร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเตรียมส่วนประกอบอาหาร
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ Flow chart
นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร)
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ชิ้นงาน
- ผลการทดลองตรวจสอบคาร์โบไฮเดรต (สร้างชิ้นงานตามความถนัดของผู้เรียน เช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้การ์ตูนช่อง)
- อาหารแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ
ความรู้
-    เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้
ประกอบอาหาร ส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ
-    เข้าใจและสามารถกระบวนการแปรรูปอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) อีกทั้งสามารถนำไปปรับใช้ชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะICT
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลอง
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

7-8
โจทย์ :
- วัตถุดิบในการประกกอบอาหารเพื่อสุขภาพมีอะไรบ้าง
- การถนอมอาหารเพื่อสุขภาพที่ทำ ระยะเวลา 1 สัปดาห์
- ปริมาณแคลอรี่ของอาหารเพื่อสุขภาพ
Key  Questions :
- ในระยะเวลา 1 สัปดาห์ นักเรียนจะมีวิธีการถนอมอาหารเพื่อสุขภาพนื้ได้อย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าอาหารเพื่อสุขภาพมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าโครงสร้างร่างกายต้องกายอาหารเพื่อสุขสภาพอย่างไร ?
เครื่องมือคิด :
-   Show and Share
- Round Rubin
- Brainstorm

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น เนื้อหมูเนื้อปลาเนื้อไก่ ฯลฯ
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์สำหรับตรวจสอบโปรตีน
- สัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น ปลา,กบ ฯลฯ
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์ผ่าตัดปลา
- กล้องจุลทรรศน์
- นักเรียนวิธีการถนอมอาหารเพื่อสุขภาพระยะเวลา 1   สัปดาห์
- ศึกษาอาหารอาหารเพื่อสุขภาพ
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างงกาย
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอวิธีการถนอมเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพ
- เตรียมเมนูที่ตนเองต้องการศึกษา เพื่อใช้สำหรับทดลองวิธีถนอมอาหารที่ตนเองได้ศึกษา
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบการทำงาน ของอาหารและประโยชน์ของอาหารที่มีต่อร่างกาย
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการตรวจสอบกระบวนการถนอมอาหาร ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping,การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-  เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบสารอาหารการเก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพ
-  เข้าใจและสามารถอธิบายโครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์เปรียบเทียบกับโครงสร้างการทำงานของร่างกายสัตว์อื่นๆ ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะICT
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลองในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping, การ์ตูนช่อง
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
9
โจทย์ : เมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ผ่านการถนอมในระยะเวลา 1 เดือน
Key Question :
นักเรียนคิดว่าเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่นักเรียนทำนั้นเป็นประโยชน์อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
-     Show and Share
-     Round Rubin
-     Flow chart
-     Brainstorm
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- วัตถุดิบในการประกอบอาหารเมนูอาหารเพื่อสสุขภาพ
- อุปกรณ์การทำอาหาร
-  นักเรียนแต่ละคนนำเนื้อของตนเองมาให้เพื่อนร่วมสังเกต และนักเรียนแต่ละคนนำเสนอ ขั้นตอนการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพของตนเองให้เพื่อนและคุณครูร่วมรับฟัง
- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน ประกอบเป็นอาหาร นำเสนอเมนูอาหารของตนเอง พร้อมวิธีการนำเสนอเมนูอาหารในรูปแบบรายการ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ตามเมนูที่แต่ละกลุ่มสนใจ พร้อมทั้งถ่ายทำรายการอาหารควบคู่ไปด้วย
- รับประทานอาหารร่วมกันแล้วเสนอความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารและการประกอบการอาหารประเภทต่างๆ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำอาหารลงในสมุดเล่มเล็ก
ครูและนักเรียนร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้ ร่วมกัน
-  นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- นำเสนอ ขั้นตอนกระบวนการถนอมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
- นำเสนอเมนูอาหารของตนเอง พร้อมวิธีการนำเสนอเมนูอาหารในรูปแบบรายการ
- ร่วมพูดคุยวางแผนการทำงาน พร้อมแบ่งหน้าที่ให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม สำหรับกิจกรรมถ่ายทำอาหาร
- เตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ตามเมนูที่แต่ละกลุ่มสนใจ พร้อมทั้งถ่ายทำรายการอาหาร
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารและการประกอบการอาหารประเภทต่างๆ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำอาหารลงในสมุดเล่มเล็ก

ชิ้นงาน
- สมุดเล่มเล็ก
- Flow chart การทำอาหาร 
-
- เมนูอาหาร และ Story Board รายการ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ตลอดระยะเวลา 1สัปดาห์ ได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเมนูต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
ทักษะ
ทักษะICT
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะชีวิต
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอเมนูอาหารผ่านกระบวนการถ่ายทำรายการได้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
10
โจทย์ :  Review กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
Key Questions :
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไรบ้าง?
จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใดบ้าง?
เครื่องมือคิด :
AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
       **  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
     ** จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
บรรยากาศในชั้นเรียน
ครูและนักเรียนร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
       **  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
     **จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
ร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้ ร่วมกัน ตลอด 1Quarter ที่ผ่านมา
นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
       **  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
     **จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน :
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงานนำเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นในวง AAR
ความรู้
เข้าใจและสามารถนำเสนอความคิดเห็นมุมมองด้านข้อดีและข้อด้อยของกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาเพื่อนำไปพัฒนาต่อได้

ทักษะ :ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้า



วันที่ 26 เมษายน 2560
สิ่งที่ได้ทำ
          - เข้าร่วมกิจกรรมจิตศึกษา โดยวันนี้คุณครูโรงเรียนประชารัฐเป็นคนจัดกิจกรรมจิตศึกษาในวันนี้ เป็นกิจกรรมทายของที่อยู่ภายในกล่อง โดยเราเป็นคนตั้งคำถามถามครู 20 คำถาม คุณครูจะตอบได้แค่ว่าใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น
          - เรียนรู้การสอนวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
- วิชาคณิตศาสตร์เป็นการสอนเริ่มจากให้นักเรียนเห็นสื่อจริงและเริ่มนับจำนวนจากสื่อจริงให้ จากนั้นหาสื่อแบบจำลองขึ้นมาแทน และจึงมาเป็นเรื่องการเขียนตัวเลข บวก ลบ คูณหาร
- วิชาภาษาไทย เป็นการเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เพราะเป็นการเรียนภาษาที่ใช้จริง จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม เหตุการณ์การจำลองชีวิตจริง
- วิชาภาษาอังกฤษ เป็นการเรียนรู้ผ่านแอพลิเคชั่นบน ipad เพราะบางทีครูอาจจะออกเสียงได้ไม่ถูกต้องตรงตามสำเนียงชาวต่างชาติ ครูจึงให้เด็กเรียนรู้แบบแอพลิเคชั่น แล้วครูกระตุ้นความคิดเด็กว่า เมื่อกี้เขาพูดว่าอย่างไร ลองเขียนใส่กระดาษให้ครูดูได้ไหม
          - รูปแบบการวัดผลและประเมินผลเป็นการประเมินตามสภาพจริง แบ่งเป็นด้านความรู้ 30% ทักษะ 40% และคุณลักษณะ 30%
          - AAR กับครูที่ดูแลเราและครูชั้นมัธยม เพื่อถามวิถีของครูชั้นมัธยม
สิ่งที่ได้เรียนรู้    
- การทำกิจกรรมอะไรครั้งแรก ทุกคนย่อมมีความตื่นเต้นหรือกลัวอยู่เสมอ แต่ถ้าเราได้ลองทำไปเรื่อยๆความตื่นเต้นหรือความกลัวนั้นก็จะหายไปเอง
- การคิดนอกกรอบ ทำให้เราได้ใช้ความคิดที่หลากหลายแตกต่างกันไป อย่าเชื่อตำราเพียงแค่อย่างเดียว
- ความมีระเบียบวินัยตรงต่อเวลาในการทำงาน
สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ
          - นักเรียนเข้าใจถึงเป้าหมายที่เราวางแผนไว้
          - รอยยิ้มและความเป็นกันเองของครูและแม่บ้านที่นี่
          - การถ่ายทอดความรู้ระหว่างเพื่อนกับเราในสิ่งที่เป็นการเสริมพลังด้านบวก
          - การมีเป้าหมายที่ชัดเจนของโรงเรียน ไม่ละความพยายามต่อเป้าหมายที่วางไว้


Timeline Quarter 1


สรุปเนื้อหาหนังสือที่อ่าน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น